เมนู

บทว่า ภูตวิชฺชา ได้แก่มนต์ของหมอผี.
บทว่า ภูริวิชฺชา ได้แก่มนต์ที่คนอยู่ในบ้านเรือนจะต้องเรียนไว้.
บทว่า อหิวิชฺชา ได้แก่วิชารักษาคนถูกงูกัด และวิชาเรียกงู.
บทว่า วิสวิชฺชา ได้แก่วิชาที่ใช้รักษาพิษเก่าหรือรักษาพิษใหม่
หรือใช้ทำพิษอย่างอื่น.
บทว่า วิจฺฉิกวิชฺชา ได้แก่วิชารักษาแมลงป่องต่อย.
แม้ในวิชาว่าด้วยหนู ก็นัยนี้แหละ.
บทว่า สกุณวิชฺชา ได้แก่รู้เสียงนก โดยรู้เสียงร้องและการไป
เป็นต้น ของสัตว์มีปีกและไม่มีปีก และสัตว์ 2 เท้า 4 เท้า.
บทว่า วายสวิชฺชา ได้แก่รู้เสียงร้องของกา. ความรู้นั้น เป็น
ตำราแผนกหนึ่งทีเดียว ฉะนั้น จึงได้ตรัสไว้แผนกหนึ่ง.
บทว่า ปกฺกชฺฌานํ ได้แก่วิชาแก่คิด อธิบายว่า เป็นความรู้
ในสิ่งที่ตนไม่เห็น ในบัดนี้ เป็นไปอย่างนี้ว่า คนนี้จักเป็นอยู่ได้เท่านี้
คนนี้เท่านี้.
บทว่า สวปริตฺตานํ ได้แก่วิชาแคล้วคลาด คือ เป็นวิชาทำให้
ลูกศรไม่มาถูกตนได้.
บทว่า มิคจกฺกํ นี้ ตรัสรวมสัตว์ทุกชนิด โดยที่รู้เสียงร้องของ
นกและสัตว์ 4 เท้าทั้งหมด.

ในการทายลักษณะแก้วมณีเป็นต้น มีอธิบายดังนี้


สมณพราหมณ์บางพวกประกอบเนือง ๆ ซึ่งการทายลักษณะแก้วมณี
เป็นต้น ด้วยอำนาจสีและสัณฐานเป็นต้น อย่างนี้ว่า แก้วมณีอย่างนี้ดี

อย่างนี้ไม่ดี เป็นเหตุ ไม่เป็นเหตุ ให้เจ้าของปราศจากโรคและมีความ
ยิงใหญ่เป็นต้น.
ในการทายลักษณะนั้น คำว่า อาวุธํ ได้แก่เว้นของมีคมมีดาบ
เป็นต้น นอกนั้นชื่อว่าอาวุธ.
แม้การทายลักษณะหญิงเป็นต้น ก็พึงทราบโดยความเจริญและความ
เสื่อมของตระกูลที่หญิงชายเป็นต้นเหล่านั้นอยู่.
ส่วนในการทายลักษณะแพะเป็นต้น พึงทราบความต่างกันดังนี้ว่า
เนื้อของสัตว์มีแพะเป็นต้น อย่างนี้ควรกิน อย่างนี้ไม่ควรกิน.
อนึ่ง ในการทายลักษณะเหี้ยนี้ พึงทราบความต่างกันแม้ในภาพ
จิตรกรรมและเครื่องประดับเป็นต้น แม้ดังนี้ว่า เมื่อมีเหี้ยอย่างนี้ จะ
มีผลอันนี้.
และในข้อนี้ มีเรื่องดังต่อไปนี้.
ได้ยินว่า ที่วัดแห่งหนึ่ง เขาเขียนภาพจิตรกรรม เป็นรูปเหี้ย
กำลังพ่นไฟ ตั้งแต่นั้นมาภิกษุทั้งหลายเกิดทะเลาะกันใหญ่. ภิกษุอาคันตุกะ
รูปหนึ่ง เห็นภาพนั้นเข้า จึงลบเสีย ตั้งแต่นั้นมา การทะเลาะก็เบาลง.
การทายลักษณะช่อฟ้า พึงทราบโดยเป็นช่อฟ้าเครื่องประดับบ้าง
ช่อฟ้าเรือนบ้าง.
การทายลักษณะเต่า ก็เช่นเดียวกับการทายลักษณะเหี้ยนั่นเอง.
การทายลักษณะเนื้อ ตรัสรวมสัตว์ทุกชนิดโดยลักษณะของสัตว์
4 เท้าทั้งหมด.
คำว่า รญฺญํ นิยฺยานํ ภวิสฺสติ ได้แก่พยากรณ์การเสด็จประพาส
ของพระราชาทั้งหลายอย่างนี้ว่า พระราชาพระองค์โน้นจักเสด็จออกโดย

วันโน้น โดยฤกษ์โน้น. ทุกบทมีนัยดังนี้ จึงอธิบายในบทนี้บทเดียว.
ส่วนบทว่า อนิยฺยานํ ในที่นี้อย่างเดียว ได้แก่การที่พระราชา
เสด็จไปพักแรมแล้วกลับมา.
คำว่า พระราชาภายในจักเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย
ความว่า พยากรณ์การเข้าประชิดและการถอยของพระราชาทั้งหลายอย่างนี้
ว่า พระราชาของพวกเราภายในพระนครจักเข้าประชิดพระราชาภายนอก
ผู้เป็นข้าศึก ลำดับนั้น พระราชาภายนอกพระองค์นั้นจักถอย. แม้ใน
บทที่สอง ก็นัยนี้แหละ. ความชนะและความแพ้ปรากฏแล้วเทียว.
เรื่องจันทรคราสเป็นต้น พึงทราบโดยพยากรณ์ว่า ราหูจักถึงจันทร์
ในวันโน้น. อนึ่ง แม้ดาวนักษัตรร่วมจับดาวอังคารเป็นต้น ก็ชื่อ
นักษัตรคราสนั่นเอง.
บทว่า อุกฺกาปาโต ได้แก่คบไฟตกจากอากาศ.
บทว่า ทิสาฑาโห ได้แก่ทิศมืดคลุ้มราวกะอากูลด้วยเปลวไฟและ
เปลวควันเป็นต้น.
บทว่า เทวทุนฺทุภิ ได้แก่เมฆคำรามหน้าแล้ง.
บทว่า อุคฺคมนํ ได้แก่ขึ้น.
บทว่า โอคฺคมนํ ได้แก่ตก.
บทว่า สงฺกิเลสํ แปลว่า ไม่บริสุทธิ์.
บทว่า โวหานํ แปลว่า บริสุทธิ์.
บทว่า เอวํ วิปาโก ความว่า จักนำสุขและทุกข์ต่าง ๆ อย่างนี้มา
ให้แก่โลก.
บทว่า สุวุฏฺฐิกา ความว่า ฝนตกต้องตามฤดูกาล.

บทว่า ทุพฺพุฏฺฐิกา ความว่า ฝนตกเป็นครั้งคราว อธิบายว่า
ฝนน้อย.
บทว่า มุทฺธา ท่านกล่าวถึงการนับด้วยหัวแม่มือ.
บทว่า คณนา ได้แก่การนับไม่ขาดสาย.
บทว่า สงฺขานํ ได้แก่การนับรวมโดยการบวกและการคูณเป็นต้น.
ผู้ที่ชำนาญการนับรวมนั้น พอเห็นต้นไม้ ก็รู้ได้ว่า ในต้นนี้มีใบเท่านี้.
บทว่า กาเวยฺยํ ความว่า กิริยาที่กวีทั้ง 4 พวก ดังที่ตรัสไว้
ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กวีมี 4 พวกเหล่านี้ คือ จินตากวี สุตกวี
อรรถกวี ปฏิภาณกวี ดังนี้ แต่งกาพย์เพื่อเลี้ยงชีพ โดยความคิดของ
ตนบ้าง โดยสดับเพราะได้ฟังเรื่องมีอาทิว่า ได้มีพระราชาพระนาม
เวสสันดร ดังนี้บ้าง โดยเนื้อความอย่างนี้ว่า เรื่องนี้มีเนื้อความอย่างนี้
เราจักแต่งเรื่องนั้นอย่างนี้ ดังนี้บ้าง โดยปฏิภาณที่เกิดขึ้นตามเหตุการณ์
อย่างนี้ว่า เราได้เห็นเหตุการณ์บางอย่าง จักแต่งกาพย์ให้เข้ากันได้กับ
เรื่องนั้นบ้าง. เรื่องที่เกี่ยวกับโลกข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วเทียว.
ที่ชื่อว่า ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ได้แก่ให้ฤกษ์ทำพิธีอาวาหมงคลว่า
ท่านทั้งหลายจงนำเจ้าสาวจากตระกูลโน้นมาให้เจ้าบ่าวผู้นี้โดยฤกษ์โน้น.
บทว่า วิวาหํ ความว่า ให้ฤกษ์ทำพิธีวิวาหมงคลว่า ท่านทั้งหลาย
จงนำเจ้าสาวนี้ไปให้เจ้าบ่าวโน้นโดยฤกษ์โน้น เขาจักมีความเจริญ.
บทว่า สํวทนํ ความว่า ที่ชื่อว่าฤกษ์ส่งตัว ได้แก่พิธีทำให้
คู่บ่าวสาวปรองดองกันอย่างนี้ว่า วันนี้ฤกษ์ดี เธอทั้ง 2 จงปรองดองกัน
ในวันนี้แหละ เธอทั้ง 2 จักไม่หย่าร้างกัน ด้วยประการฉะนี้.
ที่ชื่อว่า วิวทนํ ได้แก่ถ้าสามีภรรยาประสงค์จะหย่าร้างกัน ก็ดูฤกษ์

ทำพิธีหย่าร้างอย่างนี้ว่า ท่านจงหย่าขาดกันในวันนี้แหละ ท่านจักไม่ร่วม
กันอีก ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า สงฺกิรณํ ความว่า ดูฤกษ์ให้รวบรวมทรัพย์อย่างนี้ว่า
ทรัพย์ที่ให้กู้ยืมก็ดี เป็นหนี้ก็ดี ท่านจงเรียกเก็บเสียในวันนี้ เพราะ
ทรัพย์ที่เรียกเก็บในวันนี้นั้นจักถาวร.
บทว่า วิกิรณํ ความว่า ดูฤกษ์หาประโยชน์เองหรือให้คนอื่นหา
ประโยชน์อย่างนี้ว่า ถ้าท่านต้องการจะหาประโยชน์ด้วยการลงทุนและให้
กู้ยืมเป็นต้น ทรัพย์ที่หาประโยชน์ในวันนี้จะเพิ่มเป็น 2 เท่า 4 เท่า.
บทว่า สุภคกรณํ ความว่า ดูฤกษ์ทำให้เป็นที่รัก ที่ชอบใจ
หรือทำให้มีสิริ.
บทว่า ทุพฺภคกรณํ ความตรงกันข้ามกับบท สุภคกรณํ นั้น.
บทว่า วิรุทฺธคพฺภกรณํ ความว่า กระทำครรภ์ที่ตก ที่ทำลาย
ที่แท้ง ที่ตาย อธิบายว่า ให้ยาเพื่อไม่ให้แม่เสียหายต่อไป.
ก็ครรภ์ย่อมพินาศด้วยเหตุ 3 อย่าง คือ ลม เชื้อโรค กรรม.
ในครรภ์พินาศ 3 อย่างนั้น เมื่อครรภ์พินาศด้วยลม ต้องให้ยาเย็น ๆ
สำหรับระงับ เมื่อพินาศด้วยเชื้อโรค ต้องต่อต้านเชื้อโรค แต่เมื่อพินาศ
ด้วยกรรม แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่อาจจะห้ามได้.
บทว่า ชิวฺหานิพนฺธนํ ได้แก่ร่ายมนต์ผูกลิ้นไว้.
บทว่า หนุสํหนนํ ได้แก่ร่ายมนต์ผูกปาก ผูกไว้อย่างที่ไม่สามารถ
จะให้คางเคลื่อนไหวได้.
บทว่า หตฺถาภิชปฺปนํ ได้แก่ร่ายมนต์ทำให้มือทั้ง 2 สั่นรัว.
ได้ยินว่า เมื่อยืนอยู่ภายใน 7 ก้าว ร่ายมนต์นั้นแล้ว อีกคนหนึ่งจะมือ

สั่นรัว พลิกไปมา.
บทว่า กณฺณชปฺปนํ ได้แก่ร่ายเวท ทำให้หูทั้ง 2 ไม่ได้ยินเสียง.
ได้ยินว่า ร่ายมนต์นั้นแล้วกล่าวตามประสงค์ในโรงศาล ฝ่ายปรปักษ์
ไม่ได้ยินเสียงนั้น ดังนั้น จึงไม่อาจโต้ตอบได้เต็มที่.
บทว่า อาทาสปญฺหํ ได้แก่เชิญเทวดาลงในกระจก แล้วถาม
ปัญหา.
บทว่า กุมารีปญฺหํ ได้แก่เชิญเทวดาเข้าในร่างของเด็กสาว แล้ว
ถามปัญหา.
บทว่า เทวปญฺหํ ได้เเก่เชิญเทวดาเข้าในร่างของนางทาสี แล้ว
ถามปัญหา.
บทว่า อาทิจฺจุปฏฺฐานํ ได้แก่บำเรอพระอาทิตย์เพื่อประโยชน์
ในการดำรงชีพ.
บทว่า มหตุปฏฺฐานํ ได้แก่บำเรอท้าวมหาพรหมเพื่อประโยชน์
อย่างเดียวกัน.
บทว่า อพฺภุชฺชลนํ ได้แก่ร่ายมนต์พ่นเปลวไฟออกจากปาก.
บทว่า สิริวฺหายนํ ได้แก่เชิญขวัญเข้าตัวอย่างนี้ว่า ขวัญเอย
จงมาอยู่ในร่างเราเอย.
บทว่า สนฺติกมฺมํ ได้แก่ไปเทวสถานทำพิธีสัญญาบนบาน ซึ่ง
จะต้องทำในเวลาที่สำเร็จว่า ถ้าเรื่องนี้จักสำเร็จแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจัก
แก้บนแก่ท่าน ด้วยสิ่งนี้ ๆ. และเมื่อเรื่องนั้นสำเร็จแล้ว กระทำตามนั้น
ชื่อว่า ทำพิธีแก้บน.
บทว่า ภูริกมฺมํ ได้แก่สอนการใช้มนต์ที่ผู้อยู่ในบ้านเรือนจะ

ต้องเรียน.
ในข้อว่า วสฺสกมฺมํ โวสฺสกมฺมํ นี้ บทว่า วสฺโส ได้แก่
ชาย บทว่า โวสฺโส ได้แก่บัณเฑาะก์. การทำบัณเฑาะก์ให้เป็นชาย
ชื่อ วัสสกรรม การทำชายให้เป็นบัณเฑาะก์ ชื่อ โวสสกรรม ด้วยประการ
ฉะนี้. ก็เมื่อทำดังนั้น ย่อมให้ถึงเพียงภาวะที่ตัดเท่านั้น ไม่อาจทำให้
เพศหายไปได้ บทว่า วตฺถุกมฺมํ ได้แก่ทำพิธีสร้างเรือนในพื้นที่ที่ยัง
มิได้ตกแต่ง.
บทว่า วตฺถุปริกรณํ ได้แก่กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงนำสิ่งนี้ ๆ มา
ดังนี้แล้ว ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่.
บทว่า อาจมนํ ได้แก่ใช้น้ำล้างปากให้สะอาด.
บทว่า นฺหาปนํ ได้แก่อาบน้ำมนต์ให้คนอื่น.
บทว่า ชูหนํ ได้แก่ทำพิธีบูชาไฟ เพื่อประโยชน์แก่พวกเขา.
บทว่า วมนํ ได้แก่ทำยาสำรอก.
แม้ในการปรุงยาถ่าย ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อุทฺธวิเรจนํ ได้แก่ปรุงยาถ่ายโรคเบื้องบน.
บทว่า อโธวิเรจนํ ได้แก่ปรุงยาถ่ายโรคเบื้องล่าง.
บทว่า สีสวิเรจนํ ได้แก่ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ.
บทว่า กณฺณเตลํ ได้แก่หุงน้ำมันยาเพื่อสมานหู หรือเพื่อบำบัด
แผล.
บทว่า เนตฺตปฺปานํ ได้แก่น้ำมันหยอดตา.
บทว่า นตฺถุกมฺมํ ได้แก่ใช้น้ำมันปรุงเป็นยานัตถุ์.
บทว่า อญฺชนํ ได้แก่ปรุงยาทากัดเป็นด่างสามารถลอกได้ 2

หรือ 3 ชั้น.
บทว่า ปจฺจญฺชนํ ได้แก่ปรุงยาเย็นระงับ.
บทว่า สาลากิยํ ได้แก่เครื่องมือของจักษุแพทย์
บทว่า สลฺลกตฺติยํ ได้แก่เครื่องมือของศัลยแพทย์.
กิจกรรมของแพทย์รักษาโรคเด็ก เรียกว่า กุมารเวชกรรม.
ด้วยคำว่า มูลเภสชฺชานํ อนุปฺปทานํ (ใส่ยา) นี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงถึงกายบำบัด.
บทว่า โอสธีนํ ปฏิโมกฺโข ได้แก่ใส่ด่างเป็นต้น เมื่อแผลได้ที่
ควรแก่ด่างเป็นต้นนั้น ก็เอาต่างเป็นต้นนั้นออกไป.
จบมหาศีลเพียงเท่านี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ทรงพรรณนาศีล 3 ประการโดยพิสดาร
โดยอนุสนธิ แห่งคำสรรเสริญที่พรหมทัตมาณพกล่าว ด้วยประการฉะนี้
แล้ว บัดนี้ ทรงเริ่มประกาศความว่างเปล่าโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ยังมีธรรมอื่น ๆ ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก ดังนี้
โดยอนุสนธิแห่งคำสรรเสริญที่ภิกษุสงฆ์กล่าว.
คำว่า ธรรม ในพระบาลีนั้น ความว่า ธรรมศัพท์ เป็นไปใน
อรรถทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ คุณธรรม เทศนาธรรม ปริยัติธรรม
นิสัตตธรรม.
จริงอยู่ ธรรมศัพท์เป็นไปในคุณธรรม เช่นในประโยคมีอาทิว่า
ธรรมแลอธรรมทั้ง 2 หามีผลเสมอกันไม่ อธรรม
นำสัตว์ไปนรก ธรรมให้สัตว์ถึงสุคติ.

เป็นไปในเทศนาธรรม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น . . . . . . แก่เธอทั้งหลาย.
เป็นไปในปริยัติธรรม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ.
เป็นไปในนิสัตตธรรม เช่นในประโยคมีอาทิว่า ก็ในสมัยนั้นแล
ธรรมมีอยู่ คือ ขันธ์ทั้งหลายมีอยู่.
ก็ในพระบาลีนี้ ธรรมศัพท์เป็นไปในคุณธรรม. เพราะฉะนั้น
พึงเห็นความในพระบาลีนี้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตยังมีคุณ
อื่น ๆ อีก.
บทว่า คมฺภีรา ความว่า มีที่ตั้งอันญาณของบุคคลอื่นหยั่งไม่ได้
ยกเว้นตถาคต เหมือนมหาสมุทรอันปลายจะงอยปากยุงหยั่งไม่ถึงฉะนั้น.
ที่ชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ่งนั่งเอง.
ที่ชื่อว่า ได้ยาก เพราะเห็นได้ยากนั่นเอง.
ที่ชื่อว่า สงบ เพราะดับความเร่าร้อนทั้งหมด.
ก็ชื่อว่า สงบ แม้เพราะเป็นไปในอารมณ์ที่สงบ.
ที่ชื่อว่า ประณีต เพราะทำให้ไม่รู้จักอิ่ม ดุจโภชนะที่มีรสอร่อย
ที่ชื่อว่า คาดคะเนเอาไม่ได้ เพราะจะใช้การคะเนเอาไม่ได้ เหตุ
เป็นวิสัยแห่งญาณอันสูงสุด.
ที่ชื่อว่า ละเอียด เพราะมีสภาพละเอียดอ่อน.
ที่ชื่อว่า รู้ได้เฉพาะบัณฑิต เพราะบัณฑิตเท่านั้นพึงรู้ เหตุมิใช่
วิสัยของพวกพาล.
ข้อว่า เย ตถาคโต สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทติ ความว่า

ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ตถาคตเป็นผู้ที่มิใช่มีบุคคลอื่นแนะนำ ก็ทำให้ประจักษ์
ด้วยพระปรีชาญาณอันวิเศษยิ่งเอาทีเดียว แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง คือ
แสดง กล่าว ประกาศ.
บทว่า เยหิ ความว่า ด้วยคุณธรรมเหล่าใด.
บทว่า ยถาภุจฺจํ แปลว่า ตามเป็นจริง.
ข้อว่า วณฺณํ สมฺมา วทมานา วเทยฺยุํ ความว่า ผู้ประสงค์
จะกล่าวสรรเสริญตถาคต พึงกล่าวได้โดยชอบ อธิบายว่า อาจกล่าวได้
ไม่บกพร่อง.
ถามว่า ก็และธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญอย่างนี้นั้น
ได้แก่อะไร ?
ตอบว่า ได้แก่พระสัพพัญญุตญาณ.
ถามว่า ถ้าอย่างนั้น ทำไมถึงทรงท่านิเทศเป็นพหุวจนะ.
ตอบว่า เพราะประกอบด้วยจิตมากดวง และมีอารมณ์มากมาย.
จริงอยู่ พระสัพพัญญุตญาณนั้น ได้ในมหากิริยาจิตที่เป็นญาณ-
สัมปยุต 4 ดวง. และธรรมอะไร ๆ ที่ไม่ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของพระสัพ-
พัญญุตญาณนั้น หามิได้. สมดังคำที่พระสารีบุตรกล่าวไว้เป็นต้นว่า ชื่อว่า
พระสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรมทั้งหมด กล่าวคือ ธรรมส่วนอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะไม่มีเครื่องขัดข้องใน
พระญาณนั้น.
ทรงทำนิเทศเป็นพหุวจนะ เพราะประกอบด้วยจิตมากดวง และ
เพราะมีอารมณ์มากมายด้วยอำนาจที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ด้วยประการฉะนั้นแล.
ส่วนคำว่า อญฺเญว นี้เป็นคำกำหนดไว้ในพระบาลีนี้ พึงประกอบ

กับบททุกบทอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่าอื่นมิใช่ธรรมมีเว้นจากปาณาติบาต
เป็นต้น ลึกซึ้งจริง ๆ ไม่ใช่ตื้น.
ก็สาวกบารมีญาณลึกซึ้ง แต่ปัจเจกโพธิญาณยังลึกซึ้งกว่านั้น
ฉะนั้น จึงไม่มีคำกำหนดไว้ในสาวกบารมีญาณนั้น และพระสัพพัญญุต-
ญาณยังลึกซึ้งกว่าปัจเจกโพธิญาณนั้น ฉะนั้น จึงไม่มีคำกำหนดไว้ใน
ปัจเจกโพธิญาณนั้น ส่วนญาณอื่นที่ลึกซึ้งกว่าพระสัพพัญญุตญาณนี้ไม่มี
ฉะนั้น จึงได้คำกำหนดว่า ลึกซึ้งทีเดียว. พึงทราบคำทั้งหมดว่า เห็น
ได้ยาก รู้ตามได้ยาก เหมือนอย่างนั้น.
ก็คำถามในบทว่า กตเม จ เต ภิกฺขเว นี้ เป็นคำถามเพื่อ
ประสงค์จะแก้ธรรมเหล่านั้น.
ในคำเป็นต้นว่า สนฺติ ภิกฺขเว เอเก สมณพฺราหฺมณา ดังนี้
เป็นคำตอบคำถาม.
หากจะมีคำถามว่า ก็เหตุไรจึงทรงเริ่มคำคอบคำถามนี้อย่างนี้ ?
ตอบว่า การที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงถึงฐานะ 4 ประการ
แล้วทรงบันลือเป็นการยิ่งใหญ่ พระปรีชาญาณก็ติดตามทา ความที่พระ
พุทธญาณยิ่งใหญ่ย่อมปรากฏ พระธรรมเทศนาลึกซึ้ง ตรึงตราไว้ด้วย
พระไตรลักษณ์ ประกอบด้วยสุญญตา.

ฐานะ 4 ประการอะไรบ้าง ?


คือ ทรงบัญญัติพระวินัย ประการ 1 ทรงกำหนดธรรมอันเป็น
ภูมิพิเศษ ประการ 1 ทรงจำแนกปัจจยาการ ประการ 1 ทรงรู้ถึงลัทธิอื่น
ประการ 1.